การดูแลรักษาป่าชุมชน

การป้องกันไฟป่า

การสร้างแนวกันไฟ ไฟป่าเป็นไฟที่เกิดขึ้นจากการสันดาป (Combustion)
      จะต้องมีองค์ประกอบ 3 สิ่งมารวมกัน คือ เชื้อเพลิง (Fuel) ออกซิเจน (Oxygen) และความร้อน (Heat) องค์ประกอบทั้ง 3 สิ่งนี้ เรียกว่า สามเหลี่ยมไฟหาภขาดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไป ไฟจะไม่เกิดขึ้น ความรู้ข้อนี้สามารถนำมาเป็นพื้นฐานในการกำหนดวิธีการป้องกันไฟป่าและดับไฟป่าได้ การจัดการเชื้อเพลิงซึ่งเป็น 1 ใน 3 องค์ประกอบของสามเหลี่ยมไฟ เชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดไฟป่า คือ อินทรียสารทุกชนิดในป่าที่ติดไฟได้ ได้แก่ ต้นไม้ ตอไม้ ไม้พุ่ม กิ่งก้านไม้ ใบไม้ หญ้า และไม้พื้นล่างต่างๆ รวมไปถึงเศษซาภพืช (DufF)และดินอินทรีย์ (Peat) อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติถึงแม้จะไม่สามารถกำจัดเชื้อเพลิงทั้งหมดออกไปจากป่าได้ แต่ก็สามารถลดปริมาณเชื้อเพลิงลงได้บางส่วนหรือเปลี่ยนแปลงสภาพของเชื้อเพลิง หรือตัดตอนความต่อเนื่องของเชื้อเพลิงออกจากกันด้วยแนวกันไฟ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามเข้าไปในพื้นที่หรือป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามออกจากพื้นที่ที่กำหนดประโยชน์ของการแยกเชื้อเพลิงด้วยแนวกันไฟจึงไม่ได้มีเพื่อลดโอภาสการเกิดไฟหรือลดความรุนแรงของไฟเหมือนการลดปริมาณหรือเปลี่ยนแปลงประเภทของเชื้อเพลิง หากแต่จะช้วยจำกัดขอบเขตของไฟ เพื่อให้สามารถเข้าไปควบคุมไฟได้ง่ายขึ้น
 
การลาดตระเวนป้องกันไฟป่า/การตรวจหาไฟป่า
     -  การตรวจหาไฟทางภาคพื้นดินเป็นวิธีการตรวจหาไฟที่เก่าแก่ที่สุด อย่างไรก็ตามในหลายๆ สถานการณ์ยังเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมาก และยังใช้กันอยู่ถึงทุกวันนี้การตรวจหาไฟภาคพื้นดินอาจใช้การเดินเท้าหรือใช้ยานพาหนะประเภทต่างๆ ตามแต่ศักยภาพและความเหมาะสมของพื้นที่
     -  การตรวจหาไฟทางกิ่งอาภาศ เป็นการตรวจหาไฟโดยจุดตรวจภารณ์จะอยู่กับที่ ซึ่งจุดตรวจภารณ์อาจเป็นหอดูไฟซึ่งสร้างขึ้นโดยตรง หรือดัดแปลงคาคบต้นไม้เพื่อใช้เป็นหอดูไฟ หรือใช้จุดสังเกตการณ์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช้น ยอดเขา และริมหน้าผาสูง เป็นต้น วิธีนี้เหมาะสำหรับการตรวจหาไฟในพื้นที่ที่เป็นที่ราบภว้างใหญ่โดยปกติแล้วรัศมีระยะตรวจภารณ์สูงสุดของหอดูไฟจะอยู่ ระหว่าง 30-40 กิโลเมตร โดยมีอุปกรณ์ช่วย คือ กล้องส่องทางไกล (Heikkila et at, 1993)โดยมีปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อรัศมีการมองเห็น ได้แก่ ช่วงเวลาที่แตกต่างกันของวัน หมอภควัน และทิศทางของแสงอาทิตย์ เป็นต้น

 

การป้องกันรักษาป่า

     - การทำแนวเขตป่าชุมชน เป็นแนวที่บ่งบอกถึงขอบเขตของพื้นที่ป่าแต่ละป่าอาจเป็นแนวที่แบ่งได้โดยธรรมชาติ เช้นแนวลำห้วย แม่น้ำ หรือสันเขา เป็นต้น หรือเป็นแนวที่สร้างขึ้นมาโดยภารกระทำของมนุษย์ เช้น การติดป้ายแสดงขอบเขตพื้นที่การฝังเสาหลักแนวเขต ขุดร่องน้ำล้อมรอบแนวเขตป่าชุมชน การถางป่าเป็นแนวเขต ซึ่งอาจใช้ประโยชน์เป็นแนวกันไฟและทางลาดตระเวนป่าไปพร้อมกันด้วยก็ได้ หรือการปลุกต้นไม้กินได้ล้อมรอบเป็นแนวเขต อาทิเช่น ขี้เหล็ก สะเดา เป็นต้น

    -  การลาดตระเวนป้องกันรักษาป่า จะมีลักษณะคล้ายกับภารลาดตระเวนป้องกันไฟป่าแตกต่างกันตรงที่การลาดตระเวนป้องกันไฟป่านั้นจะทำการลาดตระเวนเฉพาะฤดุภาลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าเท่านั้น แต่การลาดตระเวนป้องกันรักษาป่านั้นจะทำภารลาดตระเวนอยู่อย่างต่อเนื่องแล้วแต่การกำหนดของแต่ละชุมชนว่าจะจัดเวรยามในการลาดตระเวนฯ

    -  ศาลาพักลาดตระเวน จะเป็นเพิงพักง่ายๆ ชั่วคราว หรือสร้างให้มั่นคงสามารถเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ได้ด้วยเพื่อใช้เป็นจุดพักหลบแดดและฝน หรืออาจเป็น ที่พักนอนชั่วคราวในกรณีที่มีการลาดตระเวนในระยะทางที่ไกลต้องค้างคืน อีกทั้งศาลาพักดังกล่าวยังสามารถเก็บอุปกรณ์ในการดับไฟป่า อุปกรณ์ยังชีพ เช่นเครื่องหุงหาอาหาร และเครื่องปรุง หรือเครื่องนอน หมอน ผ้าห่ม เป็นต้น

    -  การสร้างศูนย์ประสานงานป่าชุมชน เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและป่าชุมชนมีความยั่งยืน เป็นสถานที่ทำงานของคณะกรรมการป่าชุมชนสามารถใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นห้องประชุมในโอภาสต่างๆ ศูนย์ประสานงานป่าชุมชนส่วนใหญ่จะมีป้ายแสดงชื้อและตำแหน่งคณะกรรมการป่าชุมชน ระยะเวลาในการดำเนินงาน ป่าชุมชน ประวัติความเป็นมาของป่าชุมชน และภาพกิจกรรมในการบริหารจัดหารป่าชุมชนในด้านต่างๆ หรือในบางชุมชนอาจมีผลิตภัณฑ์จากป่าชุมชนวางไว้สำหรับจำหน่ายอีกด้วย

     - การจัดซื้ออุปกรณ์ในการดูแลรักษาป่า กรมป่าไม้ได้สนับสนุนงบเงินอุดหนุนให้กับชุมชนในการบริหารจัดการป่าชุมชนสามารถนำงบประมาณดังกล่าว จัดซื้อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินกิจภรรม

การดูแลรักษาป่าชุมชน